วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้ง 15

วัน พฤหัสบดี ที่ 28 เมษายน พศ.2559
(เวลา 08:30-12:30 น.)

เนื้อหาที่เรียน

** ในวันนี้เป็นวันสอนชดเชยของวันศุกร์ที่ 22 เมษายน

-ในวันนี้อาจารย์สอนวิธีการเขียนแผนจัดประสบการณ์ 



หน้าปกการเขียนแผน






องค์ประกอบการเขียนแผน
- หลังจากนั้นอาจารย์ให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มนำนิทานของกลุ่มตนออกมาให้เพื่อนๆดูและอาจารย์ได้ให้คำแนะนำและบอกถึงข้อผิดพลาดแต่ละจุดเพื่อให้นำกลับไปแก้ไขให้ตรงจุดพร้อมทั้งการเขียนแผนการจัดประสบการณ์

การประเมิน
- การประเมินบรรยากาศในห้องเรียน
    อบอุ่นเช่นเคยแต่อาจจะเหงาๆเนื่องจากวันนี้เป็นวันปิดคลาส
- การจัดการเรียนรู้
    อาจารย์น่ารักทุกครั้งที่เรียน สอนสนุกค่ะ มีการดึงดูดความสนใจของนักศึกษาให้ตั้งใจเรียน
- ประเมินตัวเอง
   วันนี้ตั้งใจเรียนมากขึ้นมีการจดบันทึกช่วยเพื่อนทำงาน ขอบคุณอาจารย์นะค่ะ ขอบคุณสำหรับทุกๆเรื่องนะค่ะ ^^ 

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14


วัน ศุกร์ ที่ 22 เมษายน พศ.2559(เวลา 08:30-12:30 น.)


เนื้อหาที่เรียน

ในวันนี้อาจารย์สอนเทคนิคในการสอนขั้นเตรียมกับเด็กที่เราสามารถไปประยุกต์ใช้ได้ดังนี้
- นิทาน
- คำคล้องจง
- เพลง
- คำถาม
- เกมการศึกษา
โดยอาจารย์แนะนำว่านิทานสามารถนำเข้าสู่บทเรียนแต่ควรใช้ให้คุ้มอาจจะใช้ในเรื่องประโยชน์และโทษในหน่วยของตนก็ได้ 

-ในวันนี้อาจารย์ได้มอบหมายให้แต่ละกลุ่มช่วยกันแต่งนิทานและทำเป็นนิทานเล่มใหญ่เพื่อใช้ในการสอนเด็กได้และต้องเชื่อมโยงกับคณิตศาสตร์ 
-และมีอาจารย์ค่อยแนะนำอย่างใกล้ชิดค่อยสอนว่าต้องนี้สามารถปรับเป็นคณิตศาสตร์ได้ดี 

การประเมิน

- การประเมินห้องเรียน
บรรยากาศอบอุ่นเป็นกันเอง เฮฮา ไม่เครียด อาจารย์สอนสนุกไม่เครียดเกินไปมีการเล่นกับนักศึกษา
- การประเมินการจัดการเรียนการสอน
อาจารยืสอนเข้าใจง่ายชัดเจนละเอียด ไม่เครียดอาจารยืมีเทคนิคที่ทำให้นักศึกษาตื่นตัวตลอดเวลาในการเรียน
- การประเมินตัวเอง
ตั้งใจเรียนมากขึ้น มีการจดบันทึก เข้าเรียนตรงต่อเวลา

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13


วัน ศุกร์ ที่ 15 เมษายน พศ.2559
( เวลา 08:30-12:30 น.)

** วันนี้งดการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นวันสงกรานต์และมีการเรียนการสอนชดเชยในวันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน ***

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12


วัน ศุกร์ ที่ 8 เมษายน พศ.2559
(เวลา 08:30-12:30 น.)

** ในวันนี้งดการเรียนการสอนเน่องจากนักศึกษาขอเดินทางกลับบ้านที่ต่างจังหวัดและอาจารย์ได้ให้ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยของตนเอง **





วันเสาร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11


วัน ศุกร์ ที่  1 เมษายน พศ.2559
(เวลา 08:30-12:30 น. )



เนื้อหาที่เรียน 

1. ในวันนี้เพื่อนๆออกมานำเสนอ บทความ ตัวอย่างการสอน และงานวิจัย
2. จากนั้นแต่ละกลุ่ม ออกมานำเสนอการสอนตามแนวคิดของกลุ่มตนซึ่งจะมี 5 กลุ่มโดยแต่ละกลุ่มจะเลือกหน่อยของตนเองมีหน่อยดังนี้
 - หน่วย ผัก
- หน่วยยานพาหนะ
- หน่วยผลไม้
- หน่วยผีเสื้อ
- หน่วยตัวฉัน
โดยกลุ่มดิฉันเลือกหน่วยผัก และในวันนี้หน่วยผักจะมาสอนเรื่องประเภทของผัก
3. ในวันนี้เป็นการสอนประเภทของผัก ซึ่งใช้ในวันจันทร์ที่จะเริ่มสอนเด็ก
โดยประเภทของผักจะมี ผักกินดอก ผักกินใบ และผักกินผล 
และชนิดของผักมีดังนี้ มะเขือเทศ แตงกวา ผักกาด ผักบุ้ง ดอกบร็อคโคลี่ ถั่วฝักยาว มะเขือเปราะ กะหล่ำดอก คะน้ำ ดอกแคร์ พริก 
4. เมื่อแต่ละกลุ่มนำเสนอการสอนเรียบร้อยแล้วอาจารย์จะมีข้อเสนอแนะให้ในสิ่งที่เรามองไม่เห็นทั้งๆที่สามารถสอนเด็กได้ในทางคณิตศาสตร์ไม่ว่าจะเป็นการนับ การเรียงลำดับหรือรูปร่างรูปทรง

การประเมิน

- ประเมินห้องเรียน
บรรยากาศห้องเรียนเย็นสบาย มีแสงส่องพาง่วงนอน เพื่อนๆช่วยกันตอบและสร้างบรรยากาศให้สนุกคึกคักเพื่อดึงดูดความสนใจ
- การจัดการเรียนการสอน
อาจารย์ค่อยสอนค่อยแนะนำในสิ่งที่เราควรเรียนรู้และควรมองเห็นเพื่อเก็บรายละเอียดในการสอนเด็ก ซึ่งสิ่งที่เรามองว่าเล็กน้อยจุดเล็กไม่จำเป็นต้องสอนก็ได้แต่ในความจริงแล้วสิ่งนั้นอาจจะกลายเป็นจุดใหญ่ๆที่มีค่าที่เด็กควรเรียนรู้ก็ได้
- การประเมินตัวเอง
ในวันนี้ตั้งใจเรียนดีและตอบคำถามของอาจารย์ได้เป็นส่วนใหญ่ และควรตั้งใจแบบนี้ตลอดไปและมีพัฒนาการการเรียนรู้มากขึ้น



วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

วัน ศุกร์ ที่ 25 มีนาคม พศ.2559
(เวลา 08:30-12:30 น.)


เนื้อหาที่เรียน

- ในวันนี้อาจารย์ให้นั่งตามกลุ่งของเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเป็น 5 กลุ่ม และช่วยกันคิดในแต่ละกลุ่มว่าใครจะเลือกวันจันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี ศุกร์ และจะสอนอย่างไรให้สัมพันธ์กับสาระการเรียนรู้ทั้ง 6 สาระได้แก่
     สาระที่ 1 จำนวนและดำเนินการ
     สาระที่ 2 การวัด
    สาระที่ 3 เรขาคณิต
    สาระที่ 4 พีชคณิต
    สาระที่ 5  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
    สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
  

หน่วยของกลุ่มเราคือหน่วย "ผัก" ได้แบ่งหน้าที่ตามนี้ 
วันจันทร์ ประเภท (ธณภรณ์) 
วันอังคาร ลักษณะ (วราพร)
วันพุธ การดูแลรักษา (วิไลวรรณ)
วันพฤหัสบดี ประโยชน์ (ประภาพร)
วันศุกร์ ข้อควรระวัง (พิชญากาญจน์)

หลังจากนั้นอาจารย์ให้แต่ละกลุ่มช่วยกันคิดว่าในแต่ละวันเราจะสอนอะไร สอนอย่างไร และสอดคล้องกับสาระทางคณิตศาสตร์อะไรบ้าง มีอะไรควรแก้ไขบ้าง

การประเมิน

- บรรยากาศในห้องเรียน
    อบอุ่น แอร์เย็นสบายมาก ห้องกว้างและโปร่งเกินไปทำให้คนข้างนอกมองมาได้และทำลายสมาธิ
- การจัดการเรียนการสอน
    อุปกรณ์ในห้องยังไม่ค่อยพร้อมเท่าไร แต่อาจารย์ก็สามารถสอนและอธิบายให้เข้าใจและชัดเจนมากค่ะ 
- การประเมินตัวเอง 
    ตั้งใจเรียนแม้จะมีง่วงนอนบ้างแต่ก็สามารถไปล้างหน้าเพื่อเข้าเรียนและตั้งใจฟังแก่เรียน 

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

วัน ศุกร์ ที่ 19 มีนาคม พศ.2559
(เวลา 08:30-12:30 น.)

เนื้อหาที่เรียน 
   
      วันนี้เราเรียนกันที่ตึก 2  ตึกคณะศึกษาศาสตร์เป็นครั้งสุดท้าย ใจหายเหมือนกันนะเพราะตึกนี้อยู่นานมาก และอาจารย์ให้พวกเราหาอุปกรณ์ที่ยังพอใช้ได้เช่น ไส้แฟ้ม กระดาษเอสี่ แฟ้ม เมื่อหาเสร็จแล้ว
อาจารย์ก็อธิบายการทำมายแม็บซึ่งกลุ่มดิฉันทำหน่วย ผัก  ด้วยแบ่งหัวข้อดังนี้
1 ประเภทของผัก
2 ลักษณะของผัก
3 การดูแลรักษาผัก
4 ประโยชน์ของผัก
5 โทษและข้อควรระวังของผัก

การประเมิน

- บรรยากาศในห้องเรียน
        เพื่อนๆช่วยกันทำงานดีมาก เพื่อนมาเรียนกันครบทุกคน
- การจัดการเรียนการสอน
        เนื่องจากอาคารนี้กำลังจะโดนทุบเพื่อสร้างอาคารใหม่จึงทำให้ไม่มีอุปกรณ์ใดๆ
- ประเมินตัวเอง
       มีการจดบันทึก ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟัง

วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

วัน ศุกร์ ที่ 11 มีนาคม พศ.2559 
(เวลา 08:30-12:30 น.)

เนื้อหาที่เรียน 
- อาจารย์มอบหมายงานให้ทำจิกซอจากกระดาษลัง

อุปกรณ์ 
1 ตัวแบบ
2 กระดาษลัง
3 ดินสอ
4 ไม้บรรทัด
5 คัดเตอร์

รูปภาพนี้มาจากนันทนาภรณ์ คำอ่อน 
**เนื่องจากดิฉันได้ไปช่วยอาจารย์จัดของจึงไม่สามารถถ่ายภาพได้

การประเมิน

- บรรยากาศในห้องเรียน 
    เพื่อนๆทุกคนร่วมกันทำงาน อยู่ในห้องอย่างเรียบร้อย
- การจัดการเรียนการสอน
   สื่ออุปกรณ์ อาจารย์มีให้พร้อม อาจารย์สอนเข้าใจง่ายไม่ยากไม่เครียดเกินไป
- การประเมินตัวเอง
  พยายามทำงานตั้งใจ



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

วัน ศุกร์ ที่ 4 มีนาคม พศ.2559(เวลา 08:30-12:30 น.)



เนื้อหาที่เรียน 

-  จับคู่กับเพื่อนเพื่อทำตารางเป็นสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 

    อุปกรณ์

        - กรรไกร คัดเตอร์
        - กาว
        - ไม้บรรทัด
        - ดินสอ
       - กระดาษเปล่า
       - แผ่นลัง (ลังที่ถูกตัดเป็นแผ่นใหญ่)
      -  สติ๊กเกอร์
      - สก็อตเทป
     -  กระดาษเคลือบใส

ขั้นตอนการทำ 
1 ออกแบบการทำตราง
2 ตัดแผ่นลังเป็นครึ่ง
3 นำกระดาษเปล่ามาวัดความกว้างความยาวของช่องตารางตามขนาดที่ต้องการ
4 ทากาวบนแผ่นลังแล้วนำกระดาษมาติด
5 นำสติ๊กเกอร์ติดขอบบนตารางทุกช่อง
6 ตัดกระดาษเคลือบให้เหลือขอบเล็กน้อยแล้วเคลือบลงตาราง 








ตารางตัวนี้ อาจจะนำไปประยุกต์เป็นการเล่น หมากฮอต การนับตัวเลข บันไดงู เป็นต้น


การประเมิน

- บรรยากาศการเรียนการสอน
        มีสื่ออุปกรณ์แก่การเรียนการสอนมาก ในห้องอบอุ่น
-การจัดการเรียนการสอน
        เพื่อนๆร่วมกันตอบคำถามและช่วยเหลือกันในการทำงาน
-การประเมินตัวเอง
      ช่วยเหลือเพื่อนแม้จะ งงๆอยู่บ้างแต่ก็ตั้งใจ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

วัน ศุกร์ ที่ 19 กุมภาพันธ์ พศ.2559
(เวลา 08:30-12:30 น.)



เนื้อหาที่เรียน 
 
              - อาจารย์แจกดินน้ำมันและไม้เสียบลูกชิ้นที่มีสามขนาด สั้น กลาง และยาว จากนั้นอาจาย์ให้จับคู่กันเพื่อนำไม้และดินน้ำมันต่อกันให้ได้รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม รูปทรงสามเหลี่ยม รูปทรงสี่เหลี่ยม และอาจารย์มีการอธิบายการเรียนรู้ ประกอบด้วยการเรียนรู้ ดังนี้

การวิเคราะห์โจทย์ แนวคิด
v
v
v
v
ศึกษาวัสดุที่มีอยู่
v
v
v
v
ลงมือทำ
v
v
v
v
ผลงาน
v
v
v
v
การประเมินผล

รูปทรงสามเหลี่ยม


รูปสี่เหลี่ยม


การประเมิน

- บรรยากาศในห้องเรียน 
        วันนี้ห้องเพื่อนดูอบอุ่นมาก เพราะเพื่อนเรียนรวม 2 เซค และทุกคนสามัคคีกันดีร่วมกันตอบคำถาม ตั้งใจเรียนมาก

- การจัดการเรียนการสอน
        อาจารย์อธิบายความรู้ให้เข้าใจง่ายไม่ซับซ้อนเกินไปให้เราได้คิดวิเคราะห์
- การประเมินตัวเอง
       ร่วมกันตอบคำถามกับเพื่อนๆ ตั้งใจเรียนดี มีการจดบันทึก

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5


วัน ศุกร์ ที่ 12 กุมภาพันธ์ พศ.2559
(เวลา 08:30-12:30 น.)


เนื้อหาที่เรียน

        - อาจารย์ ให้เล่นเกมส์คือสร้างตราง 2 ตารางโดยตารางแรกมี 20 ช่องตารางที่ 2 มี 40 ช่องแล้วให้เราแรงเงาให้เป็นรูปต่างๆโดยตารางแรกแต่ละรูปทรงที่แรงเงาคือตารางที่ 2 3 ช่องแล้วอาจารย์ถามว่าเกมส์นี้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยหรือไม่ เพราะอะไร คำตอบคือไม่เหมาะสมเพราะเด็กยังนึกภาพไม่ออกแต่เราสามารถประยุกต์การใช้งานได้โดยให้เด็กลงมือปฏิบัติ ลองผิดลองถูก 
      -    การเล่นของเด็กคือการเรียนรู้ การเรียนรู้คือการที่เด็กเปลี่ยนแปลงพฟติกรรมต่อสิ่งนั้น การเล่นทำให้เด้กมีอิสระและมีความสุขพร้อมทั้งเกิดการเรียนรู้
     -  อาจารย์ให้ดูวีดีโอการสอนแบบโปรเจคแอพโพสของโรงเรียนเกษมพิทยา โดยมีการสอดแทรกเนื้อหาคณิตศาสตร์ในเรื่อง รูปทรง มิติสัมพันธ์ การเรียงลำดับขั้นตอน  การจัดพื้นที่การจัดหมวดหมู่ การวัดราคา น้ำหนัก โดยสอนในหน่วยเห็ด


การประเมิน

 - บรรยายกาศในห้องเรียน
         แอร์เย็นมากก ในตอนตอบคำถามเพื่อนก็พยายามคิดและตอบแม้ว่าจะตอบเสียงเบา

 - การจัดการเรียนการสอน 
         อาจารย์สอนให้เราลงมือทำเพื่อการมองเห็นภาพจริงและเข้าใจในบทเรียน 
-  การประเมินตัวเอง
        พยายามคิดตามและตอบคำถามของอาจารย์ เริ่มมีพัฒนาในการกล้าตอบคำถาม

วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4

วัน ศุกร์ ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

(เวลา 08:30 - 12:30 น.)


เนื้อหาที่เรียน

  
    - ในวันนี้อาจารย์นำปฏิทินมาสอนในเรื่องวัน เดือน และสามารถสอนเรื่อง สี ให้แก่เด็กได้และสื่อต่างๆที่เราจะสอนเด็กต้องทนต่อการใช้งาน และปลอดภัยแก่เด็ก
    - อาจารย์ให้นักศึกษาระดมความคิดกันว่า ป้ายชื่อของเด็กสามารถนำไปใช้เรื่องอะไรได้บ้าง วึ่งสามารถนำไป แบ่งเวรทำความสะอาดในห้อง บอกจำนวนเด็กที่มาโรงเรียนในแต่ละวัน และวันเกิดของเด็กได้
   - อาจารย์สอนร้องเพลงเกี่ยวกับคณิตสาสตร์และได้ให้นักศึกษปรับเปลี่ยนเพลงใหม่ ซึ่งในแต่ละเพลงจะเกี่ยวกับการนับ เพิ่ม-ลด จำนวน 
  - อาจารย์ได้ให้นำเสนอของเล่นที่นักศึกษาเตรียมมา และจากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาคิดดูว่าหากจะทำของเล่นชิ้นนี้ขึ้นมาสามารถใช้อะไรแทนได้บ้าง 

ตัวอย่างเนื้อเพลงที่อาจารย์นำมาสอนค่ะ

ประเมิน

บรรยากาศในห้องเรียน
     แอร์เย็นมาก เรียนไม่เครียด ได้ช่วยกันระดมความคิดในทุกๆเรื่อง

การจัดการเรียนการสอน
    อาจารยืสอนเข้าใจง่ายชัดเจน และเป้นกันเองมากค่ะ ไม่ได้กดดันหรือทำในการเรียนอึดอัด

ประเมินตัวเอง 
  ตั้งใจเรียน คิดตามที่อาจารย์สอน เตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียน


    

การเรียนชดเชย

 การเรียนชดเชย (วันที่ ศุกร์ ที่ 22 มกราคม พ.ศ.2558)
ในวัน พุธ ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559

เนื้อหาที่เรียนในวันนี้

- ก่อนเข้าสู่บทเรียนอาจารย์ได้สอนการเรียงลำดับโดยการใช้ ก่อนและหลังคือ การเช็คว่านักศึกษาคนไหนที่ตื่นก่อน 07:00 น. , 07:00 น. หรือ หลัง 07:00 น.
- อาจารย์ได้ให้แนวทางว่าจะทำอย่างไรดีไหนการสอนเด็กเรื่องนาฬิกากับเด็กปฐมวัย ซึ่งในบางครั้งเด็กอาจจะยังไม่รู้เวลา ซึ่งอาจารย์แนะนำว่า อาจจะให้เด็กสังเกตจากดวงอาทิตย์ หรือถามผู้ปกครอง 
- การนำคณิตศาสตร์ไปประยุกต์กับกิจกรรมซึ่งเด็กจะได้ความรู้ทางคณิตศาสตร์เรื่อง การนับ การบอกจำนวน การเขียนเลขฮินดูอารบิก แต่บางครั้งเด็กยังไม่สามารถเขียนตัวเลขได้ โดยผู้สอนอาจจะเขียนให้ดูเป็นแบบอย่าง ทำป้ายตัวเลข 
    1 ในการจัดกิจกรรมต่างๆควรคำนึงถึงการพัฒนาการของเด็ก
    2 การลงมือปฎิบัติด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 
    3 กิจกรรมที่สอดคล้องการชีวิตประจำวันของเด็ก


การประเมิน

บรรยากาศในห้องเรียน
     การเรียนการสอนในห้องเรียนสนุก เป็นกันเอง ไม่เครียด เพื่อนๆให้ความร่วมมือกันดีมาก

การจัดการเรียนการสอน 
     อาจารย์จัดการเรียนการสอนที่ทำให้นักศึกษาเข้าใจง่ายและเห็นภาพ

ประเมินตัวเอง
    ตั้งใจฟังอาจารย์สอน มีการตอบคำถาม ควรพูดให้เสียงดังฟังชัดเจน


วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3

วัน ศุกร์ ที่ 22 มกราคม พ.ศ.2559


***  งดการเรียนการสอนเนื่องจากท่านอาจารย์ติดประชุมและอาจารย์ได้ให้นักศึกษาสรุปงานวิจัย บทความ ตัวอย่างการสอนที่นักศึกษาหามาและมีการสอนชดเชยในวันอาทิตย์ ที่ 24 มกราคม ***

วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2


วัน ศุกร์ ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559
เวลา 08:30-12:30 น.

 
                                        

เนื้อหาที่เรียน 

            เริ่มเรียนอาจารย์ให้กระดาษมาและให้นักศึกษาแจกกระดาษกันเอง โดยอาจารย์สอดแทรกเนื้อหาทางคณิตศาสตร์การสอนเด็กแบบ 1:1 และ เรื่องการบวก การลบ และอาจารย์ยังยกตัวอย่างเพิ่มว่า สามารถสอดแทรกในกิจกรรมการดื่มนม วึ่งอาจจะนำนมใส่ถังไว้ตามจำนวนของเด็ก ถ้านมเหลือ เด็กก็จะรู้ว่ามีเพื่อนไม่มาโรงเรียนตามจำนวนนมที่เหลือ 
             หลังจากนั้นอาจารย์ให้ทำ mind mapping ในหัวข้อการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยแบ่งออกเป็ย 3 หัวข้อ คือ การจัดประสบการณ์ คณิตศาสตร์ และ เด็กปฐมวัย โดยให้หา ความหมาย ทฤษฏี และ ลักษณะ 

การประเมิน


บรรยากาศในห้องเรียน
-  เพื่อนๆทุกคนเรียนแบบมีความสุข และสนุกสนาน ช่วยกันตอบคำถาม และมาตรงต่อเวลาเรียนมาก 

การจัดการเรียนการสอน
- อาจารย์มีการสอดแทรกเนื้อหาการสอนในกิจกรรมตลอดเวลา ทำให้นักศึกษได้ฝึกคิดและสร้างการคิดแบบสร้างสรรค์ตลอดเวลา 

วิเคราะห์ตัวเอง
- ตั้งใจฟังอาจารย์และคิดตามตลอดเวลา ตั้งใจทำงานส่ง ควรปรับปรุงเรื่องการตอบคำถามควรพูดให้ดังและรู้เรื่องกว่านี้ค่ะ 

ตัวอย่างการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


รายการทอล์ค อะเบาว์ คิดส์ ตอน การสอนคณิตศาสตร์กับเด็กอนุบาล 1-3

                         
โดย คุณครูจอย (ติวเตอร์สาธิตครูจอย)
           
                     ความจริงแล้วเด็กตั้งแต่ 4 ขวบ ก็สามารถที่จะเรียนรู้การเล่นแบบคณิตศาสตร์ได้ โดยเด็กสามารถเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเริ่มจากการเรียนรู้ สี ขนาด รูปร่างรูปทรง จังหวะ และตัวเลข เมื่อเด็กรู้สึกสนใจและชื่นชอบในคณิตศาสตร์เด็กก็จะเรียนรู้และสามารถนำคณิตศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ และเรียรู้จากสิ่งรอบตัว
                   สิ่งที่อนุบาล 1 สามารถเริ่มเรียนรู้ได้จากการเปรียบเทียบ สี ขนาด รูปร่างรูปทรง หรืออาจจะนำสิ่งของที่มีจำนวนเลขที่เราจะสอนเด็กก็ได้ เช่น เกะ 3 ตัวเราก็สอนจำนวนเลข 3
                  สิ่งที่อนุบาล 2 สามารถเริ่มเรียนรู้ แผ่นภาพที่มีตัวเลขชัดเจนมากขึ้นเล็กน้อย เช่น ไม้นีบผ้าที่อาจจะเอามาสอนนับเลข 1-10 ไปตามจำนวนไม้นีบ เป็นต้น
                 สิ่งที่อนุบาล 3 สามารถเรียนรู้ได้ เล่นเรียงตัวเลขที่เหมือนกันหรือจับคู่ภาพพเหมือน ซึ่งเด็กในวัยนี้เริ่มโตขึ้นภาพอาจจะถุกตัดออกจากบางกิจกรรม เพื่อจะให้เด็กได้เรียนรู้ตัวเลขมากขึ้น


           ที่มา : รายการทอล์ค อะเบาว์ คิดส์ ตอนการสอนคณิตศาสตร์กับเด็กๆ อนุบาล 1-3
                      รายการทอล์ค อะเบาว์ คิดส์ ตอนการสอนคณิตศาสตร์กับเด็กๆ อนุบาล 2-3
                     รายการทอล์ค อะเบาว์ คิดส์ ตอนการสอนคณิตศาสตร์กับเด็กๆ อนุบาล 3-3

บทความเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


สอนคณิตอย่างไรให้สนุก(สำหรับเด็กปฐมวัย)

โดย...วรารัตน์ สิริจิตราภรณ์
โรงเรียนบ้านเชิงดอย(ดอยสะเก็ดศึกษา)

                         หากพูดถึง "คณิตศาสตร์" จะคิดเป็นเรื่องยากทันทีในความคิดของเด็กและหลายๆคน ดังนั้นเราสามารถสร้างการเรียนรู้อย่างสนุกสนานไม่เครียดไปกับเนื้อหาที่ต้องเรียนรู้โดยวิธีที่ง่ายและเหมาะสมตามวัย เช่น การเรียนรู้โดยการเล่นและสัมผัสสิ่งต่างๆเพื่อเกิดการจดจำที่ยาวนาน โดยใช้สื่อที่เป็นรูปภาพ ของจริง ของจำลองที่หลากหลาย หรือบางครั้งใช้สื่อในห้องเรียนที่มีตามมุมประสบการณ์ เช่น ไม้บล็อก ลูกบอล ตัวต่อ จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการคิดในเรื่องการจำแนก เปรียบเทียบ การจัดหมวดหมู่ การนับจำนวน รูปร่างรูปทรง ใช้วิธีจัดกิจกรรมกลุ่มที่เด็กได้เรียนรู้ ร่วมกันและรู้จักสังเกต ช่ววยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นต้น โดยครูให้กำลังใจเด็กในการปฏิบัติกิจกรรมโดยการชมเชยหรือให้เพื่อนๆปรบมือให้กำลังใจ


วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559

งานวิจัย


ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร


โดย ศุภนันท์ พลอยแดง วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ปี 2553

บทคัดย่อ

มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุ 3-4  ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในอนุบาล 1 โรงเรียนมิตรภาพที่ 34 จำนวน 15 คน โดยการเลือกแบบเจาะจงผู้ที่มีคะแนนพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำ

เครื่องมือที่ใช้ : แผนการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารเพื่อใช้ในการทดลอง 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 1 ครั้ง ครัั้งละ 30 นาที รวมทั้งหมด 18 ครั้ง และแบบทดสอบทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85

นิยามคำศัพท์เฉพาะ
 1 ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย : ความรู้เบื้องต้นที่เด็กควรจะได้รับรู้และมีประสบการณ์ของการเปรียบเทียบ รูปทรง การนับจำนวน
 2 กิจกรรมการประกอบอาหาร : กิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทุกด้านในการเรียนรู้ คือ การมองเห็น การสัมผัส การชิมรส การดมกลิ่น และการฟัง
แผนการดำเนินกิจกรรมการทดลองประกอบอาหารนั้นสามารถแบ่งออกได้ 3 ขั้นคือ ขั้นเตรียมการ ขั้นปฏิบัติ และขั้นสรุป

การทดลอง (ผลการทดลองในแต่ละครั้ง)

ครั้งที่ 1 ผัดผักรวมมิตร                                                    ครั้งที่ 12 ยำหมูยอ
ครั้งที่ 2 ผักชุบแป้งทอด                                                  ครั้งที่ 13 วุ่นน้ำหวาน
ครั้งที่ 3 ส้มตำผลไม้                                                        ครั้งที่ 14 ลูกชิ้นชุบแป้งทอด
ครั้งที่ 4 น้ำส้มคั้น                                                            ครั้งที่ 15 ส้มตำมะละกอ
ครั้งที่ 5 ขนมไข่หวาน                                                     ครั้งที่ 16 วุ่นผลไม้
ครั้งที่ 6 ยำไข่เค็ม                                                           ครั้งที่ 17 น้ำมะนาวคั้น
ครั้งที่ 7 ส้มตำแตงกวา                                                   ครั้งที่ 18 ไข่เจียวหมูสับ
ครงั้ที่ 8 ขนมครกไข่นกกระทา
ครั้งที่ 9 หมูทอด
ครั้งที่ 10 แซนวิช
ครั้งที่ 11 มันต้ม


วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1


วัน ศุกร์ ที่ 8 มกราคม พ.ศ 2559
เวลา 08:30-12:30 น.

เนื้อหาที่เรียน

* อาจารย์แจกกระดาษให้ 1 แผ่นต่อ 3 คน โดยให้เราคิดว่าจะแบ่งกระดาษอย่างไรให้เท่ากัน เมื่อแบ่งได้แล้วให้เราเขียนลักษณะเด่นของตนเองลงในกระดาษ เมื่อเสร็จแล้วก็รวบรวมกันส่ง อาจารย์จะอ่านและทายว่าเป็นใคร ที่ละคนจนครบ
* อาจารย์ได้ตั้งคำถามให้เราช่วยกันคิดว่าจะแบ่งกระดาษ 1 แผ่นต่อ 3 คนได้อย่างไร มีกี่วิธี ที่สามารถรวดเร็วและง่าย สะดวกที่สุด 
* และในท้ายชั่วโมงอาจารย์ได้บอกองค์ประกอบของการทำบล็อกเกอร์ว่ามีอะไรบ้าง ควรทำอย่างไร 

ทักษะ/ระดมความคิด

- ช่วยกันคิดวิเคราะห์ว่าหากเราคิดจะแำก้ปัญหาอะไรควรคิดถึงผลที่จะมาและดูว่าทางแก้นั้นเป็นทางออกที่ดีที่สุดรึยัง

ประเมิน
บรรยากาศในห้องเรียน
- บรรยากาศในห้องมีทั้งอบอุ่น สนุกสนาน เป็นกันเอง เพื่อนๆช่วยกันตอบคำถาม
การจัดการเรียนการสอน
- อาจารย์ได้เตรียมความพร้อมมาดีมากแม้ว่าจะเจอกันเป็นครั้งแรกก็ตาม แต่อาจารย์สร้างบรรยากาศที่เป็นกันเอง อาจารย์ได้อธิบายวิธีการต่างๆได้ชัดเจน เข้าใจง่าย
ประเมินตัวเอง
- ในวันนี้แม้จะตื่นเต้นไปบ้างแต่ก็ยังสามารถควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ มีสมาธิค่อนข้างดี ตั้งใจจดข้อมูลต่างๆ