วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3

วัน ศุกร์ ที่ 22 มกราคม พ.ศ.2559


***  งดการเรียนการสอนเนื่องจากท่านอาจารย์ติดประชุมและอาจารย์ได้ให้นักศึกษาสรุปงานวิจัย บทความ ตัวอย่างการสอนที่นักศึกษาหามาและมีการสอนชดเชยในวันอาทิตย์ ที่ 24 มกราคม ***

วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2


วัน ศุกร์ ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559
เวลา 08:30-12:30 น.

 
                                        

เนื้อหาที่เรียน 

            เริ่มเรียนอาจารย์ให้กระดาษมาและให้นักศึกษาแจกกระดาษกันเอง โดยอาจารย์สอดแทรกเนื้อหาทางคณิตศาสตร์การสอนเด็กแบบ 1:1 และ เรื่องการบวก การลบ และอาจารย์ยังยกตัวอย่างเพิ่มว่า สามารถสอดแทรกในกิจกรรมการดื่มนม วึ่งอาจจะนำนมใส่ถังไว้ตามจำนวนของเด็ก ถ้านมเหลือ เด็กก็จะรู้ว่ามีเพื่อนไม่มาโรงเรียนตามจำนวนนมที่เหลือ 
             หลังจากนั้นอาจารย์ให้ทำ mind mapping ในหัวข้อการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยแบ่งออกเป็ย 3 หัวข้อ คือ การจัดประสบการณ์ คณิตศาสตร์ และ เด็กปฐมวัย โดยให้หา ความหมาย ทฤษฏี และ ลักษณะ 

การประเมิน


บรรยากาศในห้องเรียน
-  เพื่อนๆทุกคนเรียนแบบมีความสุข และสนุกสนาน ช่วยกันตอบคำถาม และมาตรงต่อเวลาเรียนมาก 

การจัดการเรียนการสอน
- อาจารย์มีการสอดแทรกเนื้อหาการสอนในกิจกรรมตลอดเวลา ทำให้นักศึกษได้ฝึกคิดและสร้างการคิดแบบสร้างสรรค์ตลอดเวลา 

วิเคราะห์ตัวเอง
- ตั้งใจฟังอาจารย์และคิดตามตลอดเวลา ตั้งใจทำงานส่ง ควรปรับปรุงเรื่องการตอบคำถามควรพูดให้ดังและรู้เรื่องกว่านี้ค่ะ 

ตัวอย่างการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


รายการทอล์ค อะเบาว์ คิดส์ ตอน การสอนคณิตศาสตร์กับเด็กอนุบาล 1-3

                         
โดย คุณครูจอย (ติวเตอร์สาธิตครูจอย)
           
                     ความจริงแล้วเด็กตั้งแต่ 4 ขวบ ก็สามารถที่จะเรียนรู้การเล่นแบบคณิตศาสตร์ได้ โดยเด็กสามารถเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเริ่มจากการเรียนรู้ สี ขนาด รูปร่างรูปทรง จังหวะ และตัวเลข เมื่อเด็กรู้สึกสนใจและชื่นชอบในคณิตศาสตร์เด็กก็จะเรียนรู้และสามารถนำคณิตศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ และเรียรู้จากสิ่งรอบตัว
                   สิ่งที่อนุบาล 1 สามารถเริ่มเรียนรู้ได้จากการเปรียบเทียบ สี ขนาด รูปร่างรูปทรง หรืออาจจะนำสิ่งของที่มีจำนวนเลขที่เราจะสอนเด็กก็ได้ เช่น เกะ 3 ตัวเราก็สอนจำนวนเลข 3
                  สิ่งที่อนุบาล 2 สามารถเริ่มเรียนรู้ แผ่นภาพที่มีตัวเลขชัดเจนมากขึ้นเล็กน้อย เช่น ไม้นีบผ้าที่อาจจะเอามาสอนนับเลข 1-10 ไปตามจำนวนไม้นีบ เป็นต้น
                 สิ่งที่อนุบาล 3 สามารถเรียนรู้ได้ เล่นเรียงตัวเลขที่เหมือนกันหรือจับคู่ภาพพเหมือน ซึ่งเด็กในวัยนี้เริ่มโตขึ้นภาพอาจจะถุกตัดออกจากบางกิจกรรม เพื่อจะให้เด็กได้เรียนรู้ตัวเลขมากขึ้น


           ที่มา : รายการทอล์ค อะเบาว์ คิดส์ ตอนการสอนคณิตศาสตร์กับเด็กๆ อนุบาล 1-3
                      รายการทอล์ค อะเบาว์ คิดส์ ตอนการสอนคณิตศาสตร์กับเด็กๆ อนุบาล 2-3
                     รายการทอล์ค อะเบาว์ คิดส์ ตอนการสอนคณิตศาสตร์กับเด็กๆ อนุบาล 3-3

บทความเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


สอนคณิตอย่างไรให้สนุก(สำหรับเด็กปฐมวัย)

โดย...วรารัตน์ สิริจิตราภรณ์
โรงเรียนบ้านเชิงดอย(ดอยสะเก็ดศึกษา)

                         หากพูดถึง "คณิตศาสตร์" จะคิดเป็นเรื่องยากทันทีในความคิดของเด็กและหลายๆคน ดังนั้นเราสามารถสร้างการเรียนรู้อย่างสนุกสนานไม่เครียดไปกับเนื้อหาที่ต้องเรียนรู้โดยวิธีที่ง่ายและเหมาะสมตามวัย เช่น การเรียนรู้โดยการเล่นและสัมผัสสิ่งต่างๆเพื่อเกิดการจดจำที่ยาวนาน โดยใช้สื่อที่เป็นรูปภาพ ของจริง ของจำลองที่หลากหลาย หรือบางครั้งใช้สื่อในห้องเรียนที่มีตามมุมประสบการณ์ เช่น ไม้บล็อก ลูกบอล ตัวต่อ จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการคิดในเรื่องการจำแนก เปรียบเทียบ การจัดหมวดหมู่ การนับจำนวน รูปร่างรูปทรง ใช้วิธีจัดกิจกรรมกลุ่มที่เด็กได้เรียนรู้ ร่วมกันและรู้จักสังเกต ช่ววยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นต้น โดยครูให้กำลังใจเด็กในการปฏิบัติกิจกรรมโดยการชมเชยหรือให้เพื่อนๆปรบมือให้กำลังใจ


วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559

งานวิจัย


ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร


โดย ศุภนันท์ พลอยแดง วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ปี 2553

บทคัดย่อ

มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุ 3-4  ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในอนุบาล 1 โรงเรียนมิตรภาพที่ 34 จำนวน 15 คน โดยการเลือกแบบเจาะจงผู้ที่มีคะแนนพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำ

เครื่องมือที่ใช้ : แผนการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารเพื่อใช้ในการทดลอง 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 1 ครั้ง ครัั้งละ 30 นาที รวมทั้งหมด 18 ครั้ง และแบบทดสอบทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85

นิยามคำศัพท์เฉพาะ
 1 ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย : ความรู้เบื้องต้นที่เด็กควรจะได้รับรู้และมีประสบการณ์ของการเปรียบเทียบ รูปทรง การนับจำนวน
 2 กิจกรรมการประกอบอาหาร : กิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทุกด้านในการเรียนรู้ คือ การมองเห็น การสัมผัส การชิมรส การดมกลิ่น และการฟัง
แผนการดำเนินกิจกรรมการทดลองประกอบอาหารนั้นสามารถแบ่งออกได้ 3 ขั้นคือ ขั้นเตรียมการ ขั้นปฏิบัติ และขั้นสรุป

การทดลอง (ผลการทดลองในแต่ละครั้ง)

ครั้งที่ 1 ผัดผักรวมมิตร                                                    ครั้งที่ 12 ยำหมูยอ
ครั้งที่ 2 ผักชุบแป้งทอด                                                  ครั้งที่ 13 วุ่นน้ำหวาน
ครั้งที่ 3 ส้มตำผลไม้                                                        ครั้งที่ 14 ลูกชิ้นชุบแป้งทอด
ครั้งที่ 4 น้ำส้มคั้น                                                            ครั้งที่ 15 ส้มตำมะละกอ
ครั้งที่ 5 ขนมไข่หวาน                                                     ครั้งที่ 16 วุ่นผลไม้
ครั้งที่ 6 ยำไข่เค็ม                                                           ครั้งที่ 17 น้ำมะนาวคั้น
ครั้งที่ 7 ส้มตำแตงกวา                                                   ครั้งที่ 18 ไข่เจียวหมูสับ
ครงั้ที่ 8 ขนมครกไข่นกกระทา
ครั้งที่ 9 หมูทอด
ครั้งที่ 10 แซนวิช
ครั้งที่ 11 มันต้ม


วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1


วัน ศุกร์ ที่ 8 มกราคม พ.ศ 2559
เวลา 08:30-12:30 น.

เนื้อหาที่เรียน

* อาจารย์แจกกระดาษให้ 1 แผ่นต่อ 3 คน โดยให้เราคิดว่าจะแบ่งกระดาษอย่างไรให้เท่ากัน เมื่อแบ่งได้แล้วให้เราเขียนลักษณะเด่นของตนเองลงในกระดาษ เมื่อเสร็จแล้วก็รวบรวมกันส่ง อาจารย์จะอ่านและทายว่าเป็นใคร ที่ละคนจนครบ
* อาจารย์ได้ตั้งคำถามให้เราช่วยกันคิดว่าจะแบ่งกระดาษ 1 แผ่นต่อ 3 คนได้อย่างไร มีกี่วิธี ที่สามารถรวดเร็วและง่าย สะดวกที่สุด 
* และในท้ายชั่วโมงอาจารย์ได้บอกองค์ประกอบของการทำบล็อกเกอร์ว่ามีอะไรบ้าง ควรทำอย่างไร 

ทักษะ/ระดมความคิด

- ช่วยกันคิดวิเคราะห์ว่าหากเราคิดจะแำก้ปัญหาอะไรควรคิดถึงผลที่จะมาและดูว่าทางแก้นั้นเป็นทางออกที่ดีที่สุดรึยัง

ประเมิน
บรรยากาศในห้องเรียน
- บรรยากาศในห้องมีทั้งอบอุ่น สนุกสนาน เป็นกันเอง เพื่อนๆช่วยกันตอบคำถาม
การจัดการเรียนการสอน
- อาจารย์ได้เตรียมความพร้อมมาดีมากแม้ว่าจะเจอกันเป็นครั้งแรกก็ตาม แต่อาจารย์สร้างบรรยากาศที่เป็นกันเอง อาจารย์ได้อธิบายวิธีการต่างๆได้ชัดเจน เข้าใจง่าย
ประเมินตัวเอง
- ในวันนี้แม้จะตื่นเต้นไปบ้างแต่ก็ยังสามารถควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ มีสมาธิค่อนข้างดี ตั้งใจจดข้อมูลต่างๆ